หน้าแรก
  โรงเรียนของเรา
  ห้องพักครู
  Gallery
  สนามเด็กเล่น
  ติดต่อเรา
 
Calendar
 
ผู้สนับสนุน
 

ตัวแรกของโลก หุ่น'ดินสอ' อ่านภาษามือไทย [อ่าน : ๓๐๓๕ ครั้ง]
คน ไทยสร้างความฮือฮาอีกแล้ว โดยคณะวิศกรรมศาสตร์ มช. ร่วมกับซีที เอเชีย โรโบติกส์ ผลิตหุ่นยนต์ตัวแรกของโลก ชื่อ "ดินสอ" อ่านภาษามือภาษาไทยได้ เพื่อเด็กนักเรียนพิการทางการพูดและการได้ยิน ใช้เวลาพัฒนากว่า 5 ปี...

เมื่อ เวลา 11.00 น. 3 มิ.ย. บริเวณจัดงานวันสถาปนาครบรอบ 40 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดงานโชว์นวัตรกรรมเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำยุค โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับบริษัท ซีที เอเชีย โรโบติกส์ จำกัด โดยรศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง คณบดี คณะคณะวิศวกรรมศาสตร์ และนายเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีทีฯ ได้เปิดตัวผลงานวิจัยซอฟต์แวร์บนตัวหุ่นยนต์ "ดินสอ" ที่สามารถอ่านภาษามือภาษาไทยที่ใช้กับผู้พิการทางการ พูดและการได้ยิน ผ่านทางกล้องดิจิตอลที่ติดตั้งบนส่วนหน้าของหุ่นยนต์ ด้วยความสามารถดังกล่าว จะทำให้หุ่นยนต์ไทยตัวนี้เป็นหุ่นยนต์ตัวแรกในโลกที่ สามารถอ่านภาษามือภาษา ไทยได้



ผู้สื่อข่าวรานงานว่า ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้นำหุ่นยนต์ "ดินสอ" ออกมาให้เด็กที่มีความพิการทางการพูดและการได้ยิน มาทดสอบสื่อภาษากับหุ่นยนต์ดินสอ ซึ่งเด็กๆ ได้เห็นการทดลองไม่ว่าจะเป็นการทักทาย และแสดงการสื่อภาษาบางคำได้อย่างดี นอกจากนี้ ใบหน้าของหุ่นดินสอยังได้สร้างอารมณ์ร่วมให้เด็กชอบใ จ ไม่ว่าจะเปลี่ยนใบหน้าเป็นแพนด้าหลินปิง หรือแสดงความรัก จะเปลี่ยนดวงตาเป็นหัวใจสีแดง สร้างรอยยิ้มอย่างเป็นสุขให้กับเด็กๆ ผู้พิการทางการพูดและการได้ยิน และเด็กขอถ่ายรูปร่วมกับหุ่นดินสอไว้เป็นที่ระลึก

ด้าน ผศ.ดร.ศันสนีย์ เอื้อพันธ์วิริยะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เปิดเผยว่า ตนได้ร่วมกับรศ.ดร.นิพนธ์ ธีรอำพน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. ทำการพัฒนาร่วมกันมา 5 ปี โดยได้ใช้เทคโนโลยี Computational Intellgence จดจำภาษามือภาษาไทยที่เป็นภาพเคลื่อนไหว ใช้สื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยิน โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ถุงมือไซเบอร์ ถูกสอนให้จดจำ โดยเริ่มจากการเก็บและสร้างต้นแบบไว้มากกว่า 4,000 ภาพภาษามือ และระบบจะถูกสอนให้รู้และจำภาพภาษามือเหล่านั้น ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัย และพัฒนาอุตสาหกรรมโทร คมนาคม เป็นผลงานที่ต่อเนื่องจากงานวิจัยแปลภาษามือภาษาไทยท ี่เป็นแบบตัวสะกดตัว อักษร ที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. ซึ่งงานวิจัยที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับการแปลภาษามือ ภาษาไทยได้ เป็นส่วนหนึ่งของปริญญานิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และจะมีการพัฒนาต่อร่วมกับบริษัท ซีทีฯ เพื่อให้สามารถอ่านคำได้มากขึ้น และจะใช้หุ่นยนต์ดินสอเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับผู ้พิการ



"ในปัจจุบันนี้ ผู้พิการทางการได้ยินในประเทศไทยมีประมาณ 118,000 คน เมื่อโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ผู้พิการเหล่านี้จะมีชีวิตที่สะดวกขึ้น สามารถสื่อสารกับคนทั่วไปที่ไม่รู้ภาษามือ โดยใช้ซอฟต์แวร์และหุ่นยนต์เป็นผู้ช่วยคนสำคัญ ซึ่งในการมาโชว์ให้ชมวันนี้ มีความสำเร็จของหุ่นยนต์เพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่จะมีการพัฒนาให้มีขีดความสามารถให้สมบูรณ์แบบที่ส ุดต่อไป" ผศ.ดร.ศันสนีย์ กล่าวอย่างมั่นใจ

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์
โพสโดย : พิทยา สิงห์โต
เมื่อวันที่ : ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
เวลา : ๑๐:๓๘:๐๐ น.
แก้ไขครั้งล่าสุด
โดย :
พิทยา สิงห์โต
เมื่อวันที่ : ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา : ๑๑:๐๔:๓๓ น.
 

แสดงความคิดเห็น
ชื่อ/อีเมล์ :
ความคิดเห็น :
  พิมพ์ข้อความที่เห็นลงในช่องนี้
 
ข้อมูลเศรษฐกิจ